บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใฃ้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและและการสื่อสารในฃีวิทประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วัดบ้านไร่
วัดบ้านไร่
เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้ปลูกสร้างขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2496 โดยเริ่มสร้างอุโบสถ มีชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จ ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียนหรือใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร แต่หลวงพ่อคูณก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย ปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนาและมีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญ
สวนท้าวสุรนารีและเขื่อนลำตะคอง
สวนท้าวสุรนารี ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของ นครราชสีมา ตั้งอยู่ติดถนนใหญ่และเขื่อนลำตะคอง เป็นหนึ่งในแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคอง เป็นสวนป่ากึ่งรุกขชาติและพฤกษศาสตร์ รวมไม้หายากของภาคอีสาน 100 กว่าชนิด พร้อมบริเวณที่พักผ่อน สวนหย่อม ประติมากรรมพานบายศรีทางเดินและทางวิ่ง สวนสุขภาพ และซุ้มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP
ปาริโอ เขาใหญ่
ลักษณะของสถานที่
Palio เป็นชื่อเทศกาลแข่งม้าที่โด่งดังแห่งเมือง เซียน่า ประเทศอิตาลี ซึ่งทางกลุ่มเจ้าของโครงการต้องการให้เป็นรางวัลกับชุมชนเขาใหญ่ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในเขาใหญ่ โครงการ Palio ประกอบด้วยร้านค้าเล็กๆ ประมาณ 120 ร้านค้าแบบถนนคนเดินสไตล์อิตาเลียน นอกจากโครงสร้างที่โดดเด่น สวยงามเป็นเอกลักษณ์แล้ว ภายในโครงการยังได้นักจัดสวนระดับแถวหน้าสุดของประเทศไทย คือ คุณอำนาจ คีตพรรณนา ซึ่งมีผลงานทางสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายในมากมาย
การเดินทางโดยรถยนต์
จากถนนมิตรภาพ มุ่งหน้าสู่เขาใหญ่ แยกเข้าถนนธนะรัชต์ (ทางหลวงหมายเลข 2090) โครงการ Palio เขาใหญ่ อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 17 ใกล้กับจุลดิสเขาใหญ่รีสอร์ทแอนด์สปา
ฟาร์มโชคชัย
กิจกรรมและการแสดงต่างๆในฟาร์มโชคชัย จะแบ่งให้ชมเป็นรอบ ดังนี้
- ชมวีดีทัศน์ประกอบคำบรรยายเกี่ยวกับฟาร์มโชคชัยในอดีต และทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ภายในบริเวณฟาร์ม
- ชมพิพิธภัณฑ์เครื่องจักรและรถใช้งานในสมัยที่เริ่มบุกเบิกฟาร์ม
- ชมการรีดน้ำเชื้อจากโคพ่อพันธุ์ ที่แข็งแรงสมบูรณ์ในเหตุการณ์จริง และเกร็ด ความรู้ของการผสมเทียม
- ชมการรีดนมโคด้วยเครื่องรีดนมอัตโนมัติและร่วมกิจกรรมรีดนมด้วยมือของตัวท่านเอง
- เยี่ยมชมโรงงานผลิตนมและโรงงานผลิตไอศกรีม ท่านจะได้เรียนรู้กระบวนการผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์ และไอศกรีม รสชาติต่างๆ พร้อมชิมลิ้มรสไอศกรีมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของฟาร์มภายใต้ชื่อ "อืมม!... มิลค์"
- นำท่านนั่งขบวนรถคาราวาน “ฟาร์มแทร็กเตอร์” ชมความยิ่งใหญ่ของฟาร์มโชคชัย บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของ 20,000 ไร่ผ่านคอกแม่โคพันธุ์ดี ฟังความรู้เกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์และวิธีการหมุนเวียนทรัพยากรน้ำภายในฟาร์ม ชมทัศนียภาพท้องทุ่งกว้าง การปลูกพืชอาหารสัตว์ แปลงหญ้า แปลงข้าวโพดเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ บ่อหญ้าหมัก และทุ่งดอกทานตะวันซึ่งเมล็ดใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ภายในฟาร์ม
- ตื่นตาตื่นใจกับการต้อนฝูงโคแบบคาวบอย และท่านยังสามารถร่วมสนุกกับการขี่ม้าถ่ายรูปหรือจะถ่ายรูปกับทุ่งทานตะวันหรือสวนแก้วมังกร ตามแต่อัธยาศัย และชมการแสดงของคาวบอยในรูปแบบของฟาร์มโชคชัย และร่วมเล่นเกมส์ต่างๆ มากมาย
- ชมความสามารถของสุนัข ในการต้อนฝูงแกะ ในรูปแบบต่างๆ ระหว่างทาง ชมฟาร์มม้าแข่งสายพันธุ์ดีจาก ต่างประเทศ
- สุดท้าย เพลิดเพลินกับสวนสัตว์ขนาดย่อม ซึ่งรวมกิจกรรมหลากหลาย เช่น ป้อนอาหารกวาง กระต่าย ป้อนนมลูกโคฯลฯ รวมทั้งการแสดงบนเวทีของสัตว์แสนรู้ต่างๆ มากมาย
ปราสาทหินพิมาย
ประวัติเมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน
เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เขาใหญ่
เขาใหญ่ หลายคนอาจคิดว่าในฤดูฝนคงไม่มีสถานที่ที่น่าเที่ยวสักเท่าไหร่ เพราะว่ามองไปทางไหนก็ดูจะเฉอะแฉะไปซะทุกที่ แต่ว่าเมืองไทยไม่ว่าจะร้อน ฝน หนาว ก็เที่ยวได้ อีกทริปที่พลาดไม่ได้ กับเหล่านักผจญภัย.... เขาใหญ่ ซึ่งห่างจากกรุงเทพไม่มากนัก เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก็ใหญ่สมชื่อจริง ๆ เพราะว่าครอบคลุมพื้นที่ถึง 4 จังหวัด ด้วยกัน คือ สระบุรี นครนายก นครราชสีมา และปราจีนบุรี มีเนื้อที่ถึง 1 ล้าน 3 แสนกว่า ไร่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)